บุศรินทร์ ปิ่นเกล้า หน้าหลัก
ข้อมูลโครงการ
บริการลูกบ้าน
รายงาน
ติดต่อเรา
เข้าสู่ระบบ

ข่าวและกิจกรรม

ขอเชิญรับฟังการหาเสียงเพื่อแถลงนโยบายของสมาชิกที่สมัคร

เรียน สมาชิกบุศรินทร์ ทุกท่าน ขอเชิญกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรบุศรินทร์ ปื่นเกล้า, กรรมการชุมชนบุศรินทร์ ปิ่นเกล้า และสมาชิกหมู่บ้านบุศรินทร์ ปิ่นเกล้า ทุกท่าน ไปร่วมกิจกรรมส่วนกลางของหมู่บ้าน ทั้งผู้ที่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ประธานคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรบุศรินทร์ ปิ่นเกล้า และสมาชิกทุกท่าน ไปมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการส่วนกลางของหมู่บ้านโดยการฟัง "การหาเสียงเพื่อแถลงนโยบายของสมาชิกที่สมัครเป็นประธาน (และกรรมการ) นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรบุศรินทร์ ปิ่นเกล้า และลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง" ดังนี้ 1. ฟังการปราศัยหาเสียงเพื่อแถลงนโยบายของสมาชิกที่เป็นผู้สมัครเป็นประธานคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านบุศรินทร์ ทั้ง 2 ทีม คือ ● วันอังคารที่ 10 และวันเสาร์ที่ 14 ธ.ค.2567 เวลา 15.00 - 17.15 น. ณ ลานแอโรบิก สวนสาธารณะของหมู่บ้าน ~ ทีมที่ 2 เวลา 15.00 - 16.00 น. นำโดย นายสุรชัย ไพฑูรย์ อดีตประธานคณะกรรมการนิติบุคคลฯ ชุดที่ 9 ปี - เดือนพฤษภาคม ปี 2565 ~ ทีมที่ 1 เวลา 16.15 - 17.15 น. นำโดย นายสากล ตั้งวงศ์ถาวรกิจ รองประธานคณะกรรมการนิติบุคคล ชุดที่ 10 (ชุดปัจจุบัน) เดือนมิถุนายน 2565 - สิ้นเดือนธันวาคม 2567 ● ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ โรงจอดรถของนิติบุคคลบุศรินทร์ ปื่นเกล้า จึงขอเชิญสมาชิกทุกท่านไปฟังการปราศัยหาเสียงของผู้สมัครทั้ง 2 ทีม เพื่อฟังการแถลงนโยบายการบริหารจัดการส่วนกลางของหมู่บ้าน และไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของท่าน ตามวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าวด้วย จักขอบคุณยิ่ง นายสนั่น ไชยเสน ประธานคณะกรรมการนิติบุศรินทร์ฯ 11 ธันวาคม 2567

รายรับรายจ่าย เดือน ส.ค.67

รายรับรายจ่าย เดือน ส.ค.67

รายรับรายจ่าย เดือน ก.ค.67

รายรับรายจ่าย เดือน ก.ค.67

คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล รับสมัครผู้ป่วยสโตรคเข้าร่วมวิจัยตามเกณฑ์เบื้องต้น

การดูแลผู้สูงอายุ

ครอบครัวอุปถัมภ์ ผู้สูงอายุรับเงินเดือนละไม่เกิน 3,000

อาหารและการออกกำลังกายสามารถป้องกันหรือลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ได้หรือไม่

อาหาร วิตามิน เกลือแร่บางชนิดพบว่าสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ ตัวอย่างเช่น อาหารจากพืช (Plant-based foods) อาหารเหล่านี้อุดมไปด้วยสารจากธรรมชาติ ที่เราเรียกว่า ไฟโตนิวเทรียนต์ (phytonutrients) ตัวอย่างเช่น แคโรทีนอยด์หรือแคโรทีน (carotenoids/carotenes) พบมากในผักสีแดง ส้ม เหลือง และผักสีเขียวเข้มบางชนิด โพลีฟีนอล (polyphenols) พบได้ในเครื่องเทศ สมุนไพร ผัก ชา กาแฟ ช็อกโกแลต ถั่ว แอปเปิ้ล หัวหอม เบอร์รีเป็นต้น อัลเลียม (alliums) พบในกุยช่าย กระเทียม กระเทียมหอม และหัวหอม สารไฟโตนิวเทรียนต์ที่พบในผักและผลไม้ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง โดยช่วยควบคุมฮอร์โมน เช่น เอสโตรเจน รวมทั้งสารอื่น ๆ โดยอาจช่วยยับยั้งการอักเสบ การเติบโตของเซลล์มะเร็ง หรือลดสารอนุมูลอิสระ อาหารจากพืชที่มีงานวิจัยว่าสามารถป้องกันมะเร็งได้ ได้แก่ ผักตระกูลกะหล่ำ ได้แก่ บรอกโคลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี กะหล่ำดาวผักกวางตุ้งไต้หวัน และคะน้า การรับประทานผักเหล่านี้จะช่วยควบคุมเอนไซม์ที่ป้องกันการเกิดมะเร็ง และสามารถหยุดการเติบโตของเซลล์มะเร็ง และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งศีรษะและคอ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร ไลโคปีน (Lycopene)พบในเกรปฟรุตสีชมพู แตงโม และแอปริคอต มีงานวิจัยที่พบว่าไลโคปีนสามารถลดความเสี่ยงของมะเร็ง เช่น มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งต่อมลูกหมาก แต่ไม่ได้แสดงถึงความสัมพันธ์โดยตรง ถั่วเหลืองมีไฟโตนิวเทรียนต์ที่ค่อนข้างจำเพาะ และมีงานวิจัยที่บอกว่าสารเหล่านี้ป้องกันมะเร็งบางชนิดได้ ความสัมพันธ์ระหว่างถั่วเหลืองกับมะเร็งเต้านมค่อนข้างซับซ้อน มีงานวิจัยที่แนะนำว่าการรับประทานถั่วเหลืองอย่างน้อย 3 เสิร์ฟนั้นปลอดภัยและสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้ แต่บางการศึกษาไม่แนะนำให้รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม และแพทย์ควรแนะนำให้หลีกเลี่ยงยาเม็ดหรือผงไอโซฟลาโวนชนิดเข้มข้น วิตามิน เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระ ตัวอย่างเช่น เบต้าแคโรทีน ซีลีเนียม วิตามินซีและอี แคลเซียม ไอโอดีน วิตามิน เอ ดี อี เค และ วิตามินบี สารต้านอนุมูลอิสระจะป้องกันไม่ให้เซลล์ถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ อนุมูลอิสระเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติจากกระบวนการของเซลล์ หรือเกิดจากสิ่งแวดล้อม เช่น มลพิษและการสูบบุหรี่ ร่างกายของเราต้องการวิตามินและเกลือแร่เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ โดยวิตามินและเกลือแร่ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ แต่จะยังไม่มีผลแน่ชัดว่าสามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ เบต้าแคโรทีน เบต้าแคโรทีนขนาดสูงดูเหมือนจะไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง มีการศึกษาวิจัยขนาดใหญ่ 2 การศึกษา พบว่าผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคมะเร็งปอด เช่น ผู้ที่สูบบุหรี่หรือเคยสูบบุหรี่ ผู้ที่สัมผัสแร่ใยหิน (Asbestos) ยังมีความเสี่ยงสูงในการเกิดมะเร็งปอดแม้ว่าจะรับประทานเบต้าแคโรทีนขนาดสูง แคลเซียมและวิตามินดี มีการศึกษาขนาดใหญ่ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ภาวะโภชนาการสมบูรณ์ พบว่าการเสริมแคลเซียมและวิตามินดีไม่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง โฟเลต พบมากในผักใบเขียว ผลไม้ น้ำผลไม้ และถั่ว มีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโฟเลตและความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง พบว่าผู้ที่มีระดับโฟเลทต่ำจะมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งตับอ่อน แต่บางการศึกษาก็ไม่พบความสัมพันธ์ของการเสริมโฟเลตกับการป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง วิตามินรวม ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า วิตามินรวมสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ แต่มีการศึกษาหนึ่งพบว่ามีแนวโน้มว่าจะมีประโยชน์ เนื่องจากมีผู้ที่รับประทานวิตามินรวมเกิน 10 ปีสามารถลดการเกิดติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ได้ ซึ่งติ่งเนื้อเหล่านี้ เมื่อเวลาผ่านไป สามารถพัฒนาเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ถ้าไม่ตัดออก แต่การศึกษานี้ก็แปลผลยาก เนื่องจากผู้ที่ได้รับวิตามินรวมสม่ำเสมอในการศึกษานี้ มีสุขภาพแข็งแรงและได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นประจำอยู่แล้ว ซีลีเนียม ในการศึกษาว่าซีลีเนียมสามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้หรือไม่ พบว่าการเสริมซีลีเนียมไม่ป้องกันการเกิดมะเร็งผิวหนัง แต่จะลดการเกิดเคสใหม่ของมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ บางการศึกษาพบว่าซีลีเนียมเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน ดังนั้นควรรับประทานด้วยความระมัดระวัง วิตามินซี มีเพียงบางการศึกษาเท่านั้นที่พบว่าวิตามินซีสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร วิตามินอี มีการศึกษาขนาดใหญ่พบว่า การรับประทานวิตามินอี จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก การรับประทานวิตามิน ซี และ อี ขนาดสูงจะเพิ่มความเสี่ยงในการกลับมาเป็นซ้ำหลังการรักษาของมะเร็งศีรษะและคอได้ กากใยอาหาร (dietary fiber)กากใยเหล่านี้ช่วยในการจับตัวของอุจจาระ ทำให้การเคลื่อนของอาหารในระบบขับถ่ายเร็วขึ้น และยังช่วยทำให้จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารแข็งแรงขึ้น ซึ่งจะทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ตัวอย่างของอาหารที่มีกากใยสูง ได้แก่ ธัญพืชเต็มเมล็ดที่ผ่านการขัดสีน้อย เช่น ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต แป้งสาลีคามุต (kamut) สเปลต์ (spelt) บัลเกอร์ (bulgur) ข้าวโพด ไซเลียม (psyllium) ข้าวไรย์ (rye) ขนมปังธัญพืชและพาสต้า ถั่วต่าง ๆ ผักและผลไม้ โปรตีน: โปรตีนจากเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว ปลา เนื้อไก่ ไข่ ผลิตภัณฑ์จากนม ควรจำกัดเนื้อแดง เช่น เนื้อหมู แพะ แกะ วัว และเนื้อที่ผ่านกระบวนการเช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน ซาลามี เพราะหากรับประทานในปริมาณมากอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์: การดื่มแอลกอฮอล์จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งศีรษะและคอ มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น ความอ้วน ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งได้หลายชนิดเช่น เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งไทรอยด์ การรับประทานอาหารที่เกินความจำเป็นของร่างกายทำให้น้ำหนักเพิ่ม บางรายรับประทานน้ำตาลและไขมันมาก ทำให้อ้วนมากขึ้น อาหารเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น -เครี่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้แต่งกลิ่น -ผลิตภัณฑ์นม เช่น นมเต็มมันเนย ชีสชนิดเต็มมันนม -เนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง เช่น หนังไก่ทอด เป็ด เบคอน แฮม ไส้กรอก การออกกำลังกาย สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เช่น -มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างผู้ที่ออกกำลังกายกับผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย พบว่าผู้ที่ออกกำลังกายสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ถึง ร้อยละ 40-50 แม้ว่าจะไม่ทราบความสำคัญที่แน่ชัดนักก็ตาม -มะเร็งเต้านม มีการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่ออกกำลังกายปานกลางหรือมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมลดลง ร้อยละ 30-40 โดยรวมทั้งผู้หญิงส่วนใหญ่และผู้หญิงที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม บางการศึกษาพบว่าเมื่อมีการออกกำลังระดับสูงสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง แต่ยังไม่ชัดเจนว่าต้องสูงเพียงใด แต่พบว่า การออกกำลังหรือทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวของร่างกายในทุกช่วงอายุสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้ -มะเร็งมดลูก บางการวิจัยพบว่าการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งมดลูกได้ -มะเร็งปอด มีหลายการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้ที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดได้น้อย


เนื้อหาที่คุณอาจสนใจ

หมู่บ้านจัดสรรบุศรินทร์ ปิ่นเกล้า
Bush Sarin Pinklao

ติดต่อ

หมู่ที่ 8 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลกระทุ่มล้ม อำเภอสามพรานจังหวัดนครปฐม 73220

02-888-5356
bup2558
webbeedeveloper
butsarinpk@gmail.com
แผนที่และการเดินทาง

Copyrights © 2025 All Rights Reserved. บุศรินทร์ ปิ่นเกล้า Version 1.0. Designed by เว็บผึ้งงาน +49,908 Times.